top of page
Search

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คืออะไร?

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล


โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือ

ภาวะที่มีความผิดปกติในเชิงโครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจ โดยอาจเป็นความผิดปกติที่ ตัวกล้ามเนื้อหัวใจ ผนังกันห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดหรือระบบการนำไฟฟ้าของหัวใจ โดยความผิดปรกติเหล่านี้ตรวจพบได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา หรือตรวจพบหลังคลอดก็ได้ โดยในทารกแต่ละรายอาจมีความผิดปรกติร่วมกันหลายชนิดก็ได้หรืออาจมีความผิดปกติในอวัยวะหลายระบบก็ได้


โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดได้อย่างไร?

เกิดจากความผิดปรกติในการเจริญเติบโตของระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่ ทารกอยู่ในครรภ์มารดา สาเหตุพบได้หลายชนิด เช่น โครงสร้างของโครโมโซมผิดปกติ ยีนที่กำหนดพันธุกรรมผิดปรกติ มารดาติดเชื้อได้รับสารพิษ สารเสพติดหรือได้รับยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์ หรือมารดาขาดสารอาหารบางชนิด ตัวอย่างที่พบบ่อยๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) ติดเชื้อหัดเยอรมัน (Rubella) ติดสุราหรือสารเสพติด


โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีกี่ชนิด?

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีอาการเขียว (Cyanotic heart disease) และชนิดที่ไม่มีอาการเขียว (Non-cyanotic heart disease) โดยสามารถสังเกตอาการเขียวได้ที่บริเวณปาก นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า

ตัวอย่างกลุ่มอาการที่มีอาการเขียว เช่น Bicuspid aortic valve, Atrial septal defect (ASD) Ventricular septal defect (VSD) Patent ductus arteriosus(PDA) ตัวอย่างกลุ่มอาการที่ไม่มีอาการเขียว เช่น Tetralogy of Fallot (TOF),Transposition of great artery (TGA)


โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีอาการอย่างไร?

อาการที่พบบ่อย เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว หอบ เจริญเติบโตช้าบวม ริมฝีปากหรือนิ้วมีสีม่วงคล้ำผิดปกติ ใจสั่น หน้ามืด วูบ หรือหมดสติ


การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีวิธีใดบ้าง?

1) การรักษาด้วยยา จะเป็นการรักษาเพื่อประคับประคองการทำงานที่ผิดปรกติของหัวใจ

2) การแก้ไขโครงสร้างของหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังหัวใจ หรือหลอดเลือดที่ผิดปกติ เช่น

- การสอดใสอุปกรณ์ผ่านทางหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นลิ้นหัวใจเทียม ร่มปิดผนังหัวใจ ขดลวดอุดหลอดเลือด หรือ ขดลวดสปริงขยายหลอดเลือด

- การผ่าตัด ซึ่งอาจเป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมโครงสร้างที่ผิดปกติ เช่น การซ่อมแซมผนังหัวใจที่รั่ว การผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การผูกหลอดเลือดที่ผิดปกติการผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนหลอดเลือด หรืออาจเป็นการผ่าตัดเพื่อ ช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นชั่วคราว เช่น การทำทางเดินเลือดชั่วคราว (Shunt)

- การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ (Heart transplantation)


จะดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้อย่างไร

กินอาหารหรือนมที่สุกสะอาด

ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เช่น ทำฟันและตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ฉีดวัคซีน ตามรอบอายุ หลีกเลี่ยงการรับประทานของสุกๆดิบ ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยในเวลาที่เหมาะสม

ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทำฟัน หรือทำหัตถการในช่องปากและคอหอย เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลิ้นหรือผนังหัวใจ

มารับการตรวจ ติดตามการรักษา และรับประทานอย่างอย่างสม่ำเสมอ

คอยดูแลและเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วย



37 views0 comments

Recent Posts

See All

หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล หัวใจวาย หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากมีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันและขัดขวางการไหลของเลือดจนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ เมื่อหัวใจขาดเลือด

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia)

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia) คือ ภาวะที่มีการก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ หรือมีการนำสัญญาไฟฟ้าภายในห้องหัวใจผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็ว เต้นช้าหรือเต้นไ

ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)

โดย พญ.ชินาภา จรูญวิกานต์ ภาวะหัวใจโต เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดโตมากกว่าปกติ ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดสาเหตุที่ทำให้มีภาวะหัวใจโตนั้นมีได้หลายสาเหตุทั้งที่เป็นจากภาวะตามธรรมชาติ เช่น การ

bottom of page