top of page
Search

ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)

โดย พญ.ชินาภา จรูญวิกานต์


ภาวะหัวใจโต เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดโตมากกว่าปกติ ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดสาเหตุที่ทำให้มีภาวะหัวใจโตนั้นมีได้หลายสาเหตุทั้งที่เป็นจากภาวะตามธรรมชาติ เช่น การตั้งครรภ์ เป็นต้น และเป็นจากตัวโรคหัวใจเองเช่น มีลิ้นหัวใจผิดปกติ,กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ,หัวใจเต้นผิดปกติรวมไปถึงเยื้อหุ้มหัวใจที่ผิดปกติ ภาวะหัวใจโตสามารถตรวจพบได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุแต่จะพบในประชากรที่สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ อันเนื่องมาจากผู้สูงอายุจะพบว่ามีความเสื่อมของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์ต่างๆ ของร่างกายและในผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวร่วมหลายโรคอีกด้วย


หัวใจโตมีอาการอย่างไร ?

ในระยะแรกของภาวะหัวใจโตมักจะไม่มีอาการแสดงสามารถตรวจพบได้จากการภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดหรือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย, ใจสั่น, บวมหรือเจ็บแน่นหน้าอก


หัวใจโตเกิดจากสาเหตุใด ?

มีสภาวะหลายอย่างที่ทำให้หัวใจโตเช่นภาวะที่มีความดันโลหิตสูงหรือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายเช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในเด็กจะพบว่าหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย หัวใจวายเฉียบพลันและหัวใจเต้นผิดปกตินั้นสามารถเกิดภาวะหัวใจโตได้


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หัวใจโต

  • ความดันโลหิตสูง

  • ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่น้องท้องเดียวกัน)

  • หลอดเลือดหัวใจตีบ

  • หัวใจพิการแต่กำเนิด

  • ลิ้นหัวใจผิดปกติ

  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

  • การใช้สารเสพติดเช่น สูบบุหรี่, การติดสุราและสารเสพติดให้โทษชนิดอื่นๆ

การรักษา

การรักษาภาวะหัวใจโตนั้นจะขึ้นกับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจโตเป็นหลัก การรักษานั้นแบ่งง่ายๆเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจโตเช่น หมั่นตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ, ออกกำลังกายเป็นประจำ, งดบุหรี่และสุรา หากมีภาวะหัวใจโตแล้วการรักษาจะมีทั้งการรับประทานยา, สวนหลอดเลือดหัวใจ, จี้ไฟฟ้าหัวใจและผ่าตัดทั้งนี้ขึ้นกับอาการ, อาการแสดงและโรคหัวใจนั้นๆเป็นหลัก




184 views0 comments

Recent Posts

See All

หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล หัวใจวาย หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากมีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันและขัดขวางการไหลของเลือดจนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ เมื่อหัวใจขาดเลือด

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia)

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia) คือ ภาวะที่มีการก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ หรือมีการนำสัญญาไฟฟ้าภายในห้องหัวใจผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็ว เต้นช้าหรือเต้นไ

ฟิตหัวใจให้พร้อม... ในทุกมาราธอน เลี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

โดย นพ.กฤษณ์ พลัสสินทร์ “คุณหมอค่ะ ขอปรึกษาหน่อย พี่ชายดิฉันเพิ่งเสียชีวิตจากโรคหัวใจวาย ทั้งๆที่ออกกำลังกายตลอด ไม่อ้วน แต่ทำไมถึงยังเกิดภาวะหัวใจวายได้อีกละคะ?” เป็นคำถามที่คนไข้ถามผมระหว่างที่มาตรว

bottom of page