top of page
Search

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) รู้ช้า... อาจไม่รอดชีวิต!

โดย นพ.นรวัฒน์ ปัญญานุวัฒน์

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเป็นโรคของหลอดเลือดแดงที่สามารถพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) เป็นเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่ออกจากขั้วหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ให้แขนงไปเลี้ยงหัวใจ สมอง อวัยวะในช่องท้องทั้งตับ ไต ลำไส้ อวัยวะในอุ้งเชิงกรานและแขนขาเป็นต้น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเป็นภาวะความผิดปกติที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือดแดงใหญ่มีขนาดโตขึ้น ผนังของหลอดเลือดแดงจะบางลงโอกาสที่หลอดเลือดจะแตกนั้นก็มากขึ้นซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดที่โตขึ้น หากทิ้งไว้ต่อไปเส้นเลือดส่วนที่บางนั้นก็อาจปริและรั่วซึมทำให้มีเลือดคั่งในช่องอกหรือช่องท้อง จนในที่สุดก็แตกออกซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตแทบทุกรายหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค

  • อายุมาก

  • ความดันโลหิตสูง

  • ภาวะไขมันในเลือดสูง

  • การสูบบุหรี่

  • โรคถุงลมโป่งพอง

  • มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น กลุ่มอาการ Marfan

  • อาการแสดงของโรค


ความสำคัญของโรคนี้อยู่ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงใดๆนำมาก่อน อาจตรวจพบเจอโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจหาโรคอื่นหรืออาจคลำพบก้อนในช่องท้องที่เต้นได้ตามจังหวะหัวใจ อาการที่พบได้แต่ไม่บ่อยมักเกิดจากที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียงเช่น กดหลอดลมหรือปอดทำให้หายใจลำบาก, กดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก, กดเบียดเส้นประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียงทำให้มีเสียงแหบเป็นต้น


อาการที่พบได้มากกว่าและมักเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าเส้นเลือดมีการปริแตกแล้ว คืออาการแน่นหรืออาการปวดแบบรุนแรงฉับพลัน ขึ้นกับตำแหน่งของเส้นเลือดที่มีการโป่งพอง เช่นแน่นหน้าอก ปวดหลัง ปวดท้องแบบฉับพลัน เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามืดหมดสติ ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องการการตรวจรักษาอย่างทันที


การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

เนื่องจากการรักษาในผู้ป่วยที่ยังไม่มีการปริแตกของหลอดเลือดจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่ามาก ดังนั้นจึงแนะนำให้เข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากการสอบถามประวัติอาการ ตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจค้นเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก, การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์และการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)


แนวทางการรักษา

เส้นเลือดโป่งพองเริ่มตั้งแต่การคุมความดันโลหิต, คุมระดับไขมันในเลือด, หยุดสูบบุหรี่ไปจนถึงการผ่าตัดรักษา สำหรับหลอดเลือดโป่งพองที่ยังมีขนาดเล็กอาจยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษา แต่ต้องมีการติดตามว่ามีขนาดโตขึ้นหรือไม่ ส่วนหลอดเลือดโป่งพองที่มีขนาดใหญ่หรือเริ่มมีการปริแตกจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา การผ่าตัดมีทั้งแบบเปิด (Open Surgery) ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบมาตรฐานและการผ่าตัดโดยใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด (Stent Graft) ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบใหม่ มีบาดแผลเล็กกว่าและใช้เวลานอนพักฟื้นสั้นกว่า การเลือกใช้วิธีการผ่าตัดใดนั้นขึ้นกับตำแหน่งพยาธิสภาพของโรค สภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป



16 views0 comments

Recent Posts

See All

หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล หัวใจวาย หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากมีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันและขัดขวางการไหลขอ...

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia)

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia) คือ ภาวะที่มีการก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ หรือมีการนำสัญญาไฟฟ้าภายในห้อง...

Comments


bottom of page