top of page
Search

การตรวจหัวใจมีอะไร แบบไหนบ้าง

Updated: Oct 18, 2022



1.การตรวจหัวใจระดับพื้นฐาน (Non invasive Cardiac Testing)

เป็นการตรวจหัวใจโดยการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจสัมผัสภายนอกร่างกาย ทราบผลไว ไม่ต้องนอนรพ. ใช้เวลาในการตรวจน้อย ซึ่งศูนย์หัวใจโรงพยาบาลจุฬารัตน์ สามารถให้บริการด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัย ดังนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography, EKG) เพื่อวินิจฉัยโรคและภาวะผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น เช่น การเต้นของหัวใจผิดจังหวะภาวะหัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ขนาดและผนังหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test, EST) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากอัตราชีพจร ระดับความดันโลหิต และการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บันทึกตลอดเวลา ขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย โดยให้ผู้ป่วยเดินบนพื้นเลื่อนหรือสายพาน ซึ่งจะเพิ่มความเร็วและความชันของพื้นเลื่อนหรือสายพาน หรือถีบจักรยานโดยผู้ป่วยจะต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้นไปตามมาตรฐานของการทดสอบ ข้อมูลที่ได้จะบอกให้ทราบถึงสมรรถภาพการทำงานของร่างกายและหลอดเลือด ความสามารถในการออกกำลังกายของแต่ละบุคคล เป็นต้น

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography, Echo) เป็นการตรวจเพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ และดูตำแหน่งของหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้า-ออกจากหัวใจ โดยอาศัยหลักการส่งคลื่นความถี่สูงที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย เข้าไปยังบริเวณทรวงอก ผ่านอวัยวะต่างๆ และจะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ระบบจะนำพาข้อมูลที่สะท้อน ไปประมวลผลเป็นภาพ แสดง รูปร่าง ขนาด และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจได้อย่างชัดเจน

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านหลอดอาหาร (Trans Esophageal Echocardiography, TEE) เป็นการตรวจหัวใจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ โดยใช้อุปกรณ์ใส่ผ่านช่องปากไปยังหลอดอาหาร เพื่อตรวจหาความผิดปกติของหัวใจ เช่น ผนังหัวใจรั่ว ลิ้นหัวรั่ว การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ เป็นต้น ใช้ในกรณีที่ตรวจด้วยอัลตร้าซาวน์หัวใจแบบปกติ (ทำผ่านผนังหน้าอก) แล้วได้ภาพไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถได้ข้อมูลมากพอในการวินิจฉัยโรค

  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Dynamic Electrocardiography / DCG / Holter Monitor) เป็นการบันทึกสภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่หยุด เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหาสาเหตุของอาการใจเต้นสั่น อาการวูบ

  • การตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดง (Vascular Screening) เป็นการตรวจหาความเสี่ยงของเส้นเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในอนาคต




2. การตรวจหัวใจขั้นสูง (Invasive Cardiac Testing)

เป็นการสวนหัวใจ การฉีดสี หรือใช้เครื่องมือ เพื่อการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาสภาวะหัวใจของผู้ป่วย ภายในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่ทันสมัยของรพ.จุฬารัตน์ ได้แก่

  • การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) และการฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ

เป็นการตรวจลักษณะ และสภาวะของหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันที่ไหน มากน้อยเพียงใด รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ และการวัดความดันในห้องหัวใจที่ตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการต่าง ๆ ของโรคหัวใจโดยละเอียด


  • การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน และการดามด้วยขดลวด (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty หรือ PTCA & Stent)

เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และ/หรือการใส่ขดลวดในผู้ป่วย ที่มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery) โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ของแพทย์พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญอย่างสูง

863 views0 comments

Recent Posts

See All

หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล หัวใจวาย หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากมีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันและขัดขวางการไหลขอ...

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia)

โดย นพ.ยุทธชัย มาตระกูล หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia) คือ ภาวะที่มีการก่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ หรือมีการนำสัญญาไฟฟ้าภายในห้อง...

ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)

โดย พญ.ชินาภา จรูญวิกานต์ ภาวะหัวใจโต เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดโตมากกว่าปกติ ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดสาเหตุที่ทำให้มีภาวะห...

Commentaires


bottom of page